ไก่ชน

ไก่ชนที่ปลดระวางแล้วมักได้เป็นพ่อพันธุ์ ดังนั้น การเล่นไก่ชนจึงเป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ไก่โดยวิธีธรรมชาติ กล่าวได้ว่าการที่ไก่พื้นเมืองไทยปัจจุบันแข็งแรงต้านทานโรคเลี้ยงลูกเก่ง
หากถามว่าไก่ชนอยู่กับคนไทยนานหรือยัง ตอบไม่ได้เลยว่านานแค่ไหนแต่ที่รู้ๆ goldenslot-auto นำมารวมไว้ที่นี้แล้วสำหรับคนรักไก่ชนสามารถ เชียร์ค่ายที่ท่านรัก หรือไก่ที่ท่านชื่นชอบอยากได้มาครอบครองได้ที่นี้แล้ว เพียงท่านสมัครสมาชิกก็เข้าชมถ่ายทอดสด เหมือนเชียร์ที่ข้างสนามก็ว่าได้ แต่ท่านใดที่ยังไม่รู้ความเป็นมาหรือสายพันธุ์ของไก่ชนที่คนไทยนิยมเลี้ยงกันนั้น วันนี้ทางเรารวบรวมมาให้ท่านได้ศึกษาแล้ว เอาง่ายว่าอ่านจบก็สามารถไปชมไก่ชนได้สบายๆว่าแล้วก็ไปอ่านกันเลย

ไก่ชนไทย พัฒนามาจากไก่บ้านที่มีถิ่นกำเนิดในดินแดนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus Domesticus ไก่เป็นสัตว์เลี้ยงของชาวนาไทยมานมนาน ไม่สามารถระบุหลักฐานได้แน่ชัดเพราะอาหารหลักของไก่ คือ ข้าวเปลือกและแมลงต่าง ๆ คนในวัฒนธรรมข้าวจึงล้วนเลี้ยงไก่ควบคู่มากับควายหรือวัวที่ใช้ในการทำนา ขณะเดียวกันธรรมชาติของไก่ตัวผู้นั้น มีความเป็นนักสู้ที่ชอบจิกตีกันเป็นประจำเด็กผู้ชายในอดีตจึงนิยมนำไก่มาเล่นชนกันและพัฒนาเป็นการละเล่นพื้นบ้านและการพนันไปในที่สุด โดยมีค่านิยมว่า ผู้ที่มีไก่ชนเก่งไว้ครอบครอง แสดงถึงบารมีและความเป็นลูกผู้ชาย ขณะเดียวกันไก่ชนในอุดมคติของนักเลงไก่ไทย ควรจะมีลักษณะ “เชิงไทยไวพม่าหนังหนาแบบเวียดนาม” กล่าวคือ มีฝีมือในการชนแบบไก่ชนสายพันธุ์ไทย มีความว่องไวแบบไก่ชนสายพันธุ์พม่า และมีความอดทนสูงแบบไก่ชนสายพันธุ์เวียดนาม
ไก่ชนสายพันธุ์ไทย เป็นไก่ขนาดกลาง มีนํ้าหนักประมาณ ๓ กิโลกรัม ลักษณะเด่นของเชิงไก่สายพันธุ์ไทย คือ เป็นไก่กอดไก่ล็อคกดหัวจิกตี ขณะชนจะคลุกเข้าวงในเอาหัวมุดงัดปีกฝ่ายตรงข้าม แล้วหมุนเป็นวงกลมหาจังหวะ เมื่อได้จังหวะจะจิกหัวฝ่ายตรงข้าม แล้วจึงกระโดดเตะ (ตี)

การละเล่นไก่ชนมีอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ดังปรากฏในตำนานนิทานและพงศาวดาร เช่นนิทานเรื่องนางสิบสอง พระรถเสนมีไก่ชนตัวเก่ง สามารถชนไก่ชนะเจ้าเมือง ชาวบ้านแถบอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เชื่อกันว่าไก่ชนพันธุ์ท้องถิ่นที่เรียกว่า ไก่พระรถ สืบสายพันธุ์มาจากไก่พื้นเมืองแถบเมืองโบราณในจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา ที่เรียกว่า เมืองพระรถ ส่วนหลักฐานทางพงศาวดาร ปรากฏเรื่องการชนไก่ของพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชาแห่งหงสาวดีครั้งยังประทับอยู่ในฐานะเชลยที่พม่า ไก่ของพระนเรศวรที่ชนะเป็นไก่ชนสายพันธุ์ไทยที่เรียกว่า ไก่เหลืองหางขาวหรือไก่พระเจ้าห้าพระองค์ ชาวบ้านถือว่าไก่สายพันธุ์นี้เป็นไก่เจ้าไก่งามไก่สง่า ลักษณะคือ ปากขาวขาขาวเดือยขาวเล็บขาวและหางขาว แต่ละภูมิภาคของไทยมีความนิยมไก่ชนสายพันธุ์แตกต่างกัน ดูได้จากสีขนและรูปร่างลักษณะ ปัจจุบันสายพันธุ์ไก่ชนที่ได้การรับรองจากสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองไทยมีทั้งหมด ๑๐ สายพันธุ์ ได้แก่
๑. เหลืองหางขาว (พัฒนามาจากไก่อูแถบบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก)

๒. ประดู่หางดำ (พัฒนามาจากไก่อูแถบจังหวัดสุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา กรุงเทพมหานคร สิงห์บุรี และอ่างทอง)

๓. เขียวหางดำ (พัฒนามาจากไก่อูแถบจังหวัดชลบุรี เรียก ไก่พระรถ ทางจังหวัดอุตรดิตถ์ เรียกเขียวพาลี หรือเขียวพระยาพิชัยดาบหัก)

๔. เทาหางขาว (มีแหล่งกำเนิดแถบจังหวัดตาก ชลบุรี (พนัสนิคม) เพชรบุรี (อำเภอบ้านแหลม)

๕. นกแดงหางแดง (จังหวัดกาญจนบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ และพระนครศรีอยุธยา)

๖. ทองแดงหางดำ (พบทั่วไปในจังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี พระนครศรีอยุธยา และชลบุรี)

๗. นกกดหางดำ (มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดนครสวรรค์ ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม และกาญจนบุรี)

๘. ลายหางขาว (เป็นไก่ที่มาจากแถบจังหวัดเชียงราย พะเยา เพชรบุรี)

๙. เขียวเลาหางขาว (มีแหล่งกำเนิดแถบจังหวัดกำแพงเพชร เพชรบุรี พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก เพชรบุรี)

๑๐. ประดู่เลาหางขาว (เขตหนองจอก มีนบุรี กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์)

ลักษณะเบื้องต้นของไก่ชน คือ ต้องแข็งแรง รูปร่างดี เชิงดีตีเจ็บและหลบหลีกเก่ง ลักษณะไก่ชนที่ดีต้องมีลักษณะหน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ปลายกด กระหม่อมสร้อยระย้า หน้านกยูง ไหล่ยก อกตั้งหางพุ่งยาว นอกจากนี้ ไก่ชนต้องมีช่วงคอใหญ่ ลำตัวสูงโปร่ง แข้งยาวเรียวเล็กมีเกล็ดใหญ่เต็ม นิ้วเรียวยาวมีเกล็ดประมาณ ๒๐ เกล็ด ตากลมใสคล้ายตาเหยี่ยว มีสีสันถูกโฉลกคือ สีปากกับสีแข้งต้องเหมือนกัน เช่น
ปากขาว แข้งขาว เป็นต้น
ไก่ชนที่ปลดระวางแล้วมักได้เป็นพ่อพันธุ์ ดังนั้น การเล่นไก่ชนจึงเป็นการคัดเลือกสายพันธุ์ไก่โดยวิธีธรรมชาติ กล่าวได้ว่าการที่ไก่พื้นเมืองไทยปัจจุบันแข็งแรงต้านทานโรคเลี้ยงลูกเก่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการคัดเลือกไก่สายพันธุ์ดีจากการเล่น “ไก่ชน” ของคนไทยนั่นเอง
การเลี้ยงและพัฒนาไก่พื้นเมืองธรรมดาให้เป็นไก่ชนที่เหมาะแก่การละเล่นแข่งขันเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและประกอบไปด้วยการใช้ภูมิปัญญาและทักษะของชาวนาไทยที่สืบเนื่องกันมายาวนาน ภูมิปัญญาในการเลี้ยงไก่ชน ประกอบด้วย การคัดเลือกสายพันธุ์ การเลี้ยงดู การฝึกฝนที่เรียกว่า “การปรนไก่” และการรักษาพยาบาล
ผู้เลี้ยงไก่ชนส่วนใหญ่เชื่อว่า ความเก่งกาจของไก่ชนเป็นผลมาจากการคัดเลือกสายพันธุ์เป็นสำคัญ องค์ความรู้ คือ เชิงไก่สืบทอดทางสายพ่อ แต่รูปร่างและลำหนักเบาสืบทอดทางสายแม่ ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่
จึงพิถีพิถันในการคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไก่อย่างมาก การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ต้องสืบย้อนขึ้นไปดูต้นตระกูลไก่หลายชั้น เพื่อให้แน่ใจว่าไก่ตัวนั้นเก่งจริง นอกจากนี้ผู้เลี้ยงไก่ยังมีความเชื่อว่า ไก่ชนที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์จะมีเชิงชน ที่ “จัด” และ “รอบด้าน” มากยิ่งขึ้นด้วยการเพาะพันธุ์ไก่ชนจึงต้องทำอย่างเอาใจใส่รอบคอบและมีความรัดกุมอย่างยิ่ง

คนไทยมีความเชื่อเกี่ยวกับลักษณะไก่ที่เป็นมงคลและไก่อัปมงคลสืบมา เช่น ไก่มงคล ๕ ประเภท ได้แก่ ไก่พระเจ้าห้าพระองค์ ไก่พญาหงส์ ไก่ทรงไตรภพ ไก่จบกระบวนยุทธ และไก่พูดรู้ภาษาคน ผู้ใดเลี้ยงไก่ดังกล่าวจะได้ลาภ ตรงข้ามกับไก่อัปมงคล เช่น ไก่ตีนเป็ด ไก่ชอบจิกตีเจ้าของและคนในบ้าน หากเลี้ยงไว้จะทำให้เสียทรัพย์เสียชื่อเสียง
นอกจากนี้ผู้เลี้ยงไก่ชนต้องมีความรู้ความเข้าใจ “วงจรชีวิตไก่” เป็นอย่างดี ไก่หนุ่มที่จะนำมาฝึกฝนเป็นไก่ชนได้ต้องมีอายุ ๘ เดือนขึ้นไป การเข้าค่ายเพื่อฝึกฝนดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน ประกอบด้วย การกราดไก่ การวิ่งสุ่ม การกระโดดบ่อ การล่อไก่ การเตะกระสอบ การลงนวมคู่และการซ้อมคู่เป็นต้น การฝึกฝนเป็นกระบวนการที่เสริมสร้างให้ไก่มีร่างกายที่แข็งแรงหนังหนาทนทาน มีสภาพจิตใจที่แข็งแกร่ง ดังที่ผู้เลี้ยงไก่ เรียกว่า “เป็นมวย” ไก่ชนจะได้รับการดูแลอย่างดีและพิเศษ ผู้เลี้ยงจะดูแลให้อาหารให้อาหารเสริม ดูแลสุ่มที่นอน รวมทั้งสังเกตเสียงขัน สีหน้า เหนียงขน ท่าทางและมูลของไก่ เพื่อให้แน่ใจว่าไก่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
![]() | ![]() |
การเลี้ยงไก่ชนนิยมกันอย่างกว้างขวางทั่วทั้งประเทศไทย มีสนามไก่ชนที่ถูกกฎหมายและผิดกฎหมายอยู่ทั่วไปทั้งในกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด ชุมชนที่มีการเลี้ยงไก่ชน จึงเป็นไปอย่างกว้างขวางกระจายไป
ทั่วประเทศไทย ปัจจุบันมีการรวมตัวกันเป็นสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่พื้นเมืองในภาคต่าง ๆแม้การเลี้ยงไก่ชนจะเป็นไปอย่างกว้างขวางและมีภูมิปัญญาการเลี้ยงที่สืบทอดกันมา แต่สภาพปัจจุบันพบว่า “มือนํ้า” หรือ “หมอไก่” ขาดผู้เรียนรู้สืบทอด ทั้งนี้ เพราะการเรียนเป็นหมอไก่ ต้องเข้าไปคลุกคลีฝากตัวเป็นศิษย์รับใช้และต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ฝึกฝนอย่างยาวนานด้วยใจรัก มือน้ำมักกล่าวตรงกันว่า ตนเองใช้ประสบการณ์ทั้งชีวิตในการเรียนรู้ไก่ การขาดแคลนมือน้ำย่อมหมายถึงการเสี่ยงต่อการสูญหายของภูมิปัญญาในการดูแลรักษาพยาบาลไก่ด้วย
ไก่ชนไทย ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗